Me

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การนอนหลับกับประโยชน์นานัปการ

posted on 27 Feb 2010 00:19 by tulip-on-me
บทความวิชาการ : การนอนหลับกับประโยชน์นานัปการ

บทนำ
     โดยปกติ คนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับการนอนเท่าที่ควร ด้วยแนวความคิดสมัยใหม่ที่คนเราจะใช้เวลาไปกับสิ่งที่มีความจำเป็นเท่านั้น อาจหมายถึงสิ่งที่จับต้องได้ในเวลาที่ตื่น เช่น ทำงาน อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆนานาที่อ้างว่าเป็นการพักผ่อน โดยที่ทัศนคติเหล่านี้สวนทางกับกระแสรักสุขภาพในปัจจุบันและความจริงที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์โดยสิ้นเชิง
            ตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คนเราใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตไปกับการนอนหลับ ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนที่ดีที่สุดเพราะในอีกสองส่วนคือการใช้ชีวิตในตอนที่ลืมตา ซึ่งพฤติกรรมบางอย่างสร้างภาระให้กับร่างกายและสมองโดยไม่รู้ตัว การใช้เวลาพักผ่อนอย่างจริงจังหรือการนอนหลับให้เพียงพอจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม สถิติดังกล่าวคิดคำนวณโดยเฉลี่ยจากการนอน 6-7 ชั่วโมงในทุกวัน หากคนเรานอนน้อยกว่านั้นในอัตราความถี่ที่เสี่ยง เช่น นอนไม่พอติดต่อกันมากกว่า 4-5 วัน ผลลัพธ์คือเรากำลังปั่นเส้นด้ายแห่งชีวิตให้สั้นลง เป็นการทำร้ายสุขภาพของตนเองโดยตรงไม่ต่างจากการใช้ยาเสพติดหรือดื่มของมึนเมา ตามที่สมาคม The American Sleep Apnea Association และ Sleep Disorders Clinic and Research Center แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด[1] ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า การที่เราอดนอนมากๆ นั้น จะมีผลเท่าเทียมกับการดื่มเหล้าจนเมา ที่สำคัญคือการอดนอนยังสามารถสร้างปัญหาเช่นเดียวกับการเมาเหล้าด้วย ซึ่งอาจลงท้ายด้วยการก่อปัญหาแก่ชีวิตนั่นเอง


ผลเสียจากการอดนอน
       แม้ว่าคนเราต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอในอัตราที่คงที่ แต่ใช่ว่าร่างกายของคนเราทุกคนจะเหมือนกัน ความแตกต่างทางด้านพันธุกรรม เพศและวัยมีผลต่อความจำเป็นในการนอนของคนเราแทบทั้งสิ้น คนที่มีร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพที่สมบูรณ์พร้อมอาจต้องนอนพักผ่อนเพียงแค่วันละ 5 ชั่วโมง ในขณะที่บางคนอาจต้องใช้เวลาในการนอนขั้นต่ำ 8-9 ชั่วโมง ซึ่งหากไม่เพียงพอเราจะสังเกตได้ในวันถัดมา โดยมีอาการดังต่อไปนี้
1.  มีอาการง่วงนอนหรือซึมเซาตลอดทั้งวัน
2.  อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายโดยไม่มีเหตุผล
3.  อาจมีอาการหลับในขณะที่ตื่นโดยไม่รู้ตัว
4.  หลับในทันทีหลังจากนอน
            อาการเหล่านี้เกิดจากการอดนอนที่นอกจากจะส่งผลในวันถัดไปแล้ว หากทำติดต่อกันจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันร่างกายจะปรับให้ชินกับสภาวะนั้นและส่งผลเสียในระยะยาว ระบบภายในร่างกายจะแปรปรวนและสูญเสียสมดุล โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตามที่     แครอล อีเวอร์สัน นักจิตวิทยาสังคมที่มหาวิทยาลัยแห่งเทนเนสซี[2] ได้ค้นพบสัญญาแสดงว่า การ อดนอนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักขึ้นในช่วงแรก ๆ โลหิตจะมีเม็ดโลหิตขาวเพิ่มขึ้นและมันก็สลายตัวในเวลาต่อมา ทำให้ความสามารถในการต้านทานแบคทีเรียและเชื้อไวรัสของร่างกายเราเสียไป
            โดยเฉพาะในผู้หญิง ผลเสียจากการอดนอนนั้นจะสร้างปัญหาไปยังใบหน้า รูปร่างและความงามตามวัยที่อาจจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยมีอาการ เช่น ดวงตาหมองคล้ำ ผิวหน้าเหี่ยวเฉาและมีอาการอิดโรยอย่างเห็นได้ชัด การอดนอนจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเพราะเหมือนกับการก้าวเดินลงไปยังเหวด้วยเท้าของตนเอง

สารพันประโยชน์ต่อร่างกาย
        ร่างกายของคนเรามีกลไกการทำงานที่ซับซ้อน จึงต้องการการนอนหลับพักผ่อนเพื่อให้ระบบภายในได้พักฟื้นและเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในวันถัดไป เปรียบเหมือนเครื่องจักรที่ต้องหยุดพักและซ่อมแซมส่วนที่เสียหายเพื่อให้สามารถทำงานให้ดีขึ้น เพราะคนเราไม่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังที่แฮโรลด์ แซบปีลิน อาจารย์พิเศษสาขาจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน[3] บอกว่าการนอนหลับเป็นการบังคับของร่างกายเพื่อการประหยัดพลังงาน นั่นคือธรรมชาติบังคับให้คนเราพักผ่อนในแต่ละวันให้เพียงพอ
           ประโยชน์ของการนอนอีกประการหนึ่งจากการศึกษาค้นคว้าของเดนนิส แม็คกินตี้ นักวิจัยประสาทวิทยาของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในลอสแองเจลีส คือ การนอนสามารถช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย โดยมีสมองส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่สั่งการให้เราหลับเมื่อระดับอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินควรและส่งผลกระทบไปยังสมอง ทฤษฏีนี้พิสูจน์ได้ง่าย โดยสังเกตจากการออกกำลังกาย เช่น วิ่งหรือเล่นฟุตบอลในวันที่ร้อนจัดไม่นานก็อาจจะเป็นลม เช่นเดียวกับนักกีฬาที่ออกกำลังกายอย่างหักโหมจะต้องใช้เวลาในการนอนพักผ่อนมากกว่าคนปกติ เนื่องด้วยอุณหภูมิในร่างกายสูงผิดปกติ ทำให้ประสาทส่วนรับความร้อนภายในสั่งการให้ระบบดูดซึมอาหารทำงานช้าลงด้วยการทำให้รู้สึกง่วงนอนและหลังจากนั้นระดับอุณหภูมิก็จะลดต่ำลง

นอนหลับเพื่อสมอง
       นอกจากก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว การนอนหลับยังสามารถส่งผลดีต่อสมองอีกด้วย เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะชิ้นสำคัญของคนเรา ถึงแม้ว่าจะมีน้ำหนักเบาแต่ว่าเอาพลังงานสะสมภายในร่างกายไปใช้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละวัน ซึ่งหากเรานอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ระบบจัดเก็บความทรงจำหรือระบบประสาทจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อเรานอนหลับโดยเฉพาะเมื่อเราหลับสนิทหรือหลับลึกแล้วฝัน จากงานวิจัยทางสมองพบว่า ความฝันเป็นอีกหนึ่งกระบวนการจัดเก็บข้อมูล โดยฉายภาพประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนที่ตื่นเพื่อจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้น เป็นการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทของสมองเพื่อเก็บเป็นความทรงจำถาวร โดยอวัยวะที่ทำหน้าที่ดังกล่าว มีชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส[4] จะทำหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลที่เรียนรู้ในระหว่างวันเข้าสู่ความทรงจำระยะยาว ซึ่งอวัยวะชิ้นนี้ทำงานตอนที่เราหลับเท่านั้นและจะทำงานได้ดีหากเราหลับอย่างเพียงพอ
  
สรุป
      ประโยชน์ของการนอนหลับมีมากมาย แม้ว่าในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในวัยเรียนและวัยทำงานต่างละเลยถึงความสำคัญของการนอน อันเกิดจากการบีบบังคับด้วยเงื่อนไขของเวลาและค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง แต่หากรู้จักการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างถูกวิธี เล็งเห็นถึงข้อดีของการนอนหลับทีมีความเกี่ยวพันกับชีวิตคนเรา เชื่อว่าการดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุขพร้อมด้วยสุขภาพที่ดีของร่างกายและจิตใจคงจะเป็นความฝันที่ไม่ไกลเกินความจริง


บรรณานุกรม

วนิษา เรซ.2551.อัฉริยะ เรียนสนุก.กรุงเทพฯ:บริษัทอัฉริยะสร้างได้ จำกัด....ขันทอง สุขผ่อง.เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการนอนหลับ.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1921 (วันที่ค้นข้อมูล:29 พฤศจิกายน 2552) ....ทอมเกเออร์.เรานอนหลับเพื่ออะไร.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.school .net.th/library/snet4/anatomy/sleep.htm(วันที่ค้นข้อมูล:29 พฤศจิกายน 2552) ....เอมอร คชเสนี.การนอนหลับ.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.novabizz .com/Health/Sleep.htm(วันที่ค้นข้อมูล:11 ธันวาคม 2552).... 10 วิธีปฏิบัติก่อนนอนเพื่อสุขภาพดี.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.forfriend .org/content/healthy/h0011.php(วันที่ค้นข้อมูล:15 ธันวาคม 2552)


 

[1]  มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) หนึ่งในสามมหาวิทยาลัยชั้นนำทางเทคโนโลยี นอกเหนือจาก MIT และ Caltech มีความโดดเด่นด้านงานวิจัยในสาขาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และเศรษฐศาสตร์ ตั้งอยู่ที่เมือง สแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
[2]  มหาวิทยาลัยแห่งเทนเนสซี (University of Tennessee) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้านหลักสูตรในระดับอุดมศึกษาที่ได้มาตรฐาน ตั้งอยู่ในมลรัฐเทนเนสซี (Tennessee) ซึ่งอยู่ ทางตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
[3] มหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน(University of Michigan)เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในอันดับต้นของประเทศในหลายสาขาวิชา ได้แก่ ด้านวิศวกรรม บริหาร วิทยาศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ และดนตรี
[4] ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสมองของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาว

http://tulip-on-me.exteen.com/20100227/entry

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

โรคเอดส์

โรคเอดส์ (AIDS) สมุนไพร รักษาเอดส์
Tags: สมุนไพร เห็ดหลินจือ มะระขี้นก ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม ขมิ้นชัน เหงือกปลาหมอ รักษาโรคเอดส์

สมุนไพรรักษาโรคเอดส์ โดยการยับยั้งเชื้อ HIV และใช้ในการเพิ่มภูมิต้านทานให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ คือ ลูกใต้ใบ,ฟ้าทะลายโจร,ขมิ้นชัน,เห็ดหลินจือ,มะระขี้นก,บอระเพ็ด,มะขามป้อม และเหงือกปลาหมอ

สมุนไพรบำบัดโรคเอดส์ มะขามป้อม ขมิ้นชัน เห็ดหลินจือ บอระเพ็ด มะระขี้นก เหงือกปลาหมอ

โรคเอดส์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV อันนำมาสู่สภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคนี้ยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ มีเพียงยาต้านไวรัสเท่านั้นที่จะช่วยให้เชื้อไวรัสเอดส์ลดลง ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งข้อดีก็มีคือ ทำให้ไวรัสลดลง มีภูมิคุ้มกัน CD4 เพิ่มขึ้น แต่มีข้อเสียคือ ทำให้เกิดภาวะผิดปกติ เช่น ตับอักเสบ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคไต ปลายประสาทอักเสบ ปวดเมื่อยตามข้อตามตัว ผื่นขึ้นตามตัว แก้มตอบ ขาหลีบ

ทางการแพทย์มีแนวทางในการรักษาโรคเอดส์ คือ
  • หยุดหรือชลอการเพิ่มขึ้นของจำนวนไวรัส ( antiviroal therapy ) โดยใช้ยาที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV-RT เช่น AZT,ddI.ddC,3TC,d4T และยับยั้งเอนไซม์ protease เช่น saquinavir,indinavir
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานด้วยยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immunostimulators)
  • ให้ยาป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ วัณโรค,ปอดอักเสบ,เชื้อราขึ้นสมอง,ตุ่มคันตามตัว,มีไข้ทุกวัน,เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงท้องเสีย,ท้องอืด ภูมิคุ้มกัน CD4 ต่ำกว่า 500 ลงมา

สมุนไพรบำบัดรักษาโรคเอดส์

มีรายงานเกี่ยวกับสมุนไพร 9 ชนิดที่สามารถยับยั้งเชื้อ HIV และใช้ในการเพิ่มภูมิต้านทานให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ คือ ลูกใต้ใบ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน เห็ดหลินจือ มะระขี้นก บอระเพ็ด มะขามป้อม และเหงือกปลาหมอ

ลูกใต้ใบ
สารสกัดจากลูกใต้ใบสามารถยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ของ HIV–1 ได้

ฟ้าทะลายโจร
สาร dehydroandrographolide succinic acid monoester ซึ่งสังเคราะห็ได้จากสาร andrographolide จากฟ้าทะลายโจร มีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV –1 และมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HIV -2

ขมิ้นชัน
สารสีเหลือง curcumin ในขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ protease ของ HIV-1 และ HIV-2 และยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ integrase ของเชื้อ HIV-1 ได้

เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ HIV-1 ได้ผลดี โดยป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายในช่วงแบ่งตัวของไวรัส และไม่มีพิษต่อเซลล์ และยังพบอีกว่ามีสาระสำคัญที่ช่วยในการ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายและรักษาอาการภูมิแพ้ ตุ่มคันทางผิวหนัง

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางการแพทย์ในปี พ.ศ. 2533 คณะแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รายงานผลการวิจัยการใช้เห็ดหลินจือที่ได้ผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันในผู้ ป่วยโรคเอดส์ ในที่ประชุมโรคเอดส์นานาชาติครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์

มะระขี้นก
ในเมล็ดแก่ของมะระขี้นก มีโปรตีน TBG-P 29 ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV โดยการยับยั้งเอนไซม์ revere transcriptase นอกจากนี้ผลอ่อนของมะระขี้นกยังใช้เป็นยาเจริญอาหาร รักษาอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยเอดส์ได้

สมุนไพร อื่นๆ อีกที่สามารถเพิ่มภูมิต้านทาน ได้แก่
บอระเพ็ด มะขามป้อม

วิธีการใช้
เห็ดหลินจือ แบบสกัดบรรจุแคบซูล รับประทานก่อนอาหาร 3 เวลา แต่ถ้าเป็นแบบแผ่นต้องนำมาต้มก่อนแล้วรับประทานต่างน้ำ
ส่วนสมุนไพรอีก 8 ชนิดที่เหลือ ( ลูกใต้ใบ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน มะระขี้นก บอระเพ็ด มะขามป้อม และเหงือกปลาหมอ) เอามาอย่างละเท่าๆกัน ทำเป็นผงชงกับน้ำผึ้งแท้(ใส่เพียงเล็กน้อย 1 ช้อนชา)หรือเป็นลูกกลอนผสมน้ำผึ้งแท้ รับประทานหลังอาหาร 3 เวลา


Book Reference:
สมุนไพรใช้ในการรักษาโรคเอดส์ได้หรือไม่. คู่มือพื้นฐานความรู้สุขภาพสู่เศรษฐกิจ , สำนักงาน นโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
 
Related Link: [WebSite External Reference] 


http://www.alternativecomplete.com/alternative3.php

โรคตับ

โรคตับ สมุนไพร บำรุงตับ
Tags: สมุนไพร เห็ดหลินจือ รักษาตับแข็ง มะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบ

สมุนไพรสำหรับโรคตับ บำรุงตับ ได้แก่ เห็ดหลินจือ,ขมิ้นชัน,อาร์ติโชค,ลูกใต้ใบ สมุนไพรเหล่านี้ ใช้ในการรักษาโรคตับ ต้านพิษป้องกันตับ ต้านไวรัสตับ บำรุงตับ กระตุ้นการทำงานของตับให้ดีขึ้น

สมุนไพรบำรุงตับ เห็ดหลินจือ ขมิ้นชัน อาร์ติโชค

โรคตับมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยได้แก่ โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคฝีในตับ โรคต่อมน้ำดีตีบตันในเด็ก โรคผิดปกติทางเมตาบอลิซึมแต่กำเนิด และที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ โรคตับอักเสบ

โรคตับเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ จากเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย จากพิษของยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคไขมันในเลือดสูง และอื่น ๆ จากการดื่มสุราเป็นประจำ รับประทานอาหารดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นโรคตับมาแต่กำเนิด จากไขมันคั่งสะสมในตับ ส่วนใหญ่โรคตับอักเสบที่พบบ่อยที่สุดก็คือโรคตับที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิด บี , ซี และ ดี

โรคตับจะติดกันได้เฉพาะโรคตับที่เกิดจากไวรัสเท่านั้น ได้แก่ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี เชื้อไวรัสเหล่านี้จะเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีต่างกัน ชนิดเอ และอี จะแพร่เชื้อออกมาทางอุจจาระไปสู่ชุมชนเช่นตามแหล่งน้ำ และปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำ

ส่วนเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี ซี และดี จะติดต่อกันทางเลือด เช่นโดยทางเข็มฉีดยามีดโกน ของมีคมที่เปื้อนเลือดคนมีเชื้อ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่บุตร

ไวรัสตับอักเสบ บี (Virus B) ทำให้เกิดโรคตับอย่างไร

เรื่องไวรัสตับอักเสบ บี เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะตัวไวรัสตับอักเสบ บี เองไม่ได้เป็นผู้ที่ทำลายตับโดยตรงอย่างที่หลายคนเข้าใจ การอับเสบของตับ เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายพยายามทำลายไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งอาศัยอยู่ในเซล์ตับ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หากทิ้งไว้นาน ตับที่อักเสบนั้นจะมีพังผืดขึ้นเป็นแผลจนกลายเป็นโรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับในที่สุด นี่ก็เป็นเหตุผลที่ต้องรีบรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับนั่นเอง

โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา จะทำหน้าที่หาสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในร่างกาย แล้วทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น การที่ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำลายสิ่งแปลกปลอมได้นั้น เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันมีการสร้างเม็ดเลือดขาว, B-cell, T-cell, Natural Killer cell, Cytokines เช่น Interferons เป็นต้น ซึ่งเป็นอาวุธในการทำลายสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาวุธที่จะช่วยเม็ดเลือดขาวกำจัดไวรัสก็คือ Interferons

Interferons เป็นโปรตีนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองตามธรรมชาติ เพื่อช่วยในการกำจัดไวรัส ไม่ว่าจะเป็นไวรัสที่ทำให้เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัส อะไรก็ตาม Interferons จะช่วยกับเม็ดเลือดขาวในการกำจัด ด้วยเหตุนี้หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงและมีสาร Interferons ที่เป็นโปรตีนธรรมชาติที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเอง ภูมิคุ้มกันก็สามารถเอาชนะเชื้อไวรัสได้ ในทางตรงกันข้าม หากภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงและมีสาร Interferons ไม่พอ ก็ไม่สามารถเอาชนะเชื้อไวรัสได้เช่นกัน

ดังนั้นทางแพทย์แผนปัจจุบัน จึงใช้วิธีการฉีดสาร Interferons สังเคราะห์ เข้าร่างกายในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี และซี รายที่มีสาร Interferons น้อย เพื่อช่วยในการรักษาควบคู่กับยาต้านไวรัส และยาบำรุง เพื่อให้สาร Interferons สังเคราะห์ช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี

อ่านเพิ่มเติมเรื่องไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ได้จาก

สมุนไพรบำบัดรักษาโรคตับ

เห็ดหลินจือ รักษาโรคตับ

นพ. บรรเจิด ตันติวิท ได้เขียนหนังสือ "หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า" ซึ่งอธิบายหลักการทำงานของเห็ดหลินจือ และประสบการณ์ในการรักษาเห็ดหลินจือให้แก่ผู้ป่วย ได้ยกตัวอย่างเรื่องโรคตับแข็งและให้เหตุผลว่าทำไมเห็ดหลินจือถึงรักษาโรค ตับแข็งได้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเหล้าทำให้เกิดโรคตับแข็งได้อย่างไร ในเหล้ามีแอลกอฮอล์ ซึ่งมีพิษทำลายเซลล์ของตับและเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดแผลที่ตับ ยิ่งนานเข้าจะเกิดใยแผลเป็นที่แข็งมากขึ้น และยังก่อกวนการทำงานของตับ ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับมาก ตับเกิดการอักเสบเป็นแผล จนเกิดเป็นโรคตับแข็ง

เห็ดหลินจือมีคุณสมบัติที่ช่วยรักษาโรคตับแข็งได้ ก็เพราะ
  1. เห็ดหลินจือช่วยทำให้ใยแผลเป็นที่ตับคลายตัว ไม่รัดเส้นเลือดและเนื้อเยื่อที่ตับ
  2. เห็ดหลินจือช่วยบำรุงตับ ฟื้นฟูการทำงานของตับ กระตุ้นการเกิดเซลล์ใหม่แทนเซลล์ที่ตายไป
  3. เห็ดหลินจือช่วยปรับภูมิคุ้มกันไม่ให้ทำงานผิดเพี้ยนและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  4. เห็ดหลินจือเป็นแอนติอ็อกซิแดนต์ที่ดี สามารถขจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้
ผลทางเภสัชวิทยาของเห็ดหลินจือ ในเรื่องของโรคตับ และพบว่าภายในเห็ดหลินจือมีสารสำคัญทางยาที่ใช้รักษาโรคตับ คือ
  • สารโพลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) ในเห็ดหลินจือ
    มีสรรพคุณทางยา ปรับปรุงการทำงานของตับ ปกป้องตับจากสารพิษ (Hepatoprotective activity)โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งสารพิษ เช่น คาร์บอนเตตราคลอไรด์ โดยไม่ให้ทำลายเซลล์ตับ รวมถึงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น
     
  • กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ (Bitter Triterpenoids) ในเห็ดหลินจือ
    มีฤทธิ์ในการปกป้อง บำรุงและรักษาโรคตับ ประกอบด้วย กรดกาโนเดอริค( Ganoderic acid ) และกรดลูซิเดนิค (Lucidenic acid) พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านสารพิษที่มีต่อตับ(Antihepatotoxie)และยับยั้งการเจริญ เติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ (Cytotoxicty on hepatoma cells) ได้ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว
     
  • โปรตีน Lz-8 ในเห็ดหลินจือ
    ช่วยปรับระบบภูมิคุ้นกันให้ทำงานเป็นปกติไม่ผิดเพี้ยน รักษาโรคไวรัสตับ บี
     
  • สารเยอร์มาเนียม (Germanium) ในเห็ดหลินจือ
    ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยรักษามะเร็งตับได้


พริกไทย ผักบุ้ง และขมิ้นชัน
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ได้คัดเลือกสมุนไพรไทยที่สามารถออกฤทธิ์ป้องกันการทำลายของเซลล์ตับหรือ บำรุงรักษาตับ มาพัฒนาเป็นอาหารเสริมที่มีประสิทธิผลและความปลอดภัยสูง ผลจากการคัดเลือกปรากฎว่า พืชสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ พริกไทย ผักบุ้ง และขมิ้นชัน ให้ผลในการป้องกันโรคตับได้ดี โดยได้นำสารสกัดจากพืชสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดที่มีฤทธิ์เสริมกัน มาผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ด พร้อมกับทดสอบฤทธิ์ในการป้องกันการถูกทำลายของตับจากสารเคมี กระตุ้นการสร้างเซลล์ตับ และเพิ่มการหลั่งน้ำดีของผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรไทยป้องกันโรคตับของ วว. มี 2 ชนิด ได้แก่
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Livetal-D เป็นสารสกัดหยาบของสมุนไพรออกฤทธิ์ที่บำรุงและป้องกันพิษจากสารเคมี หรือเชื้อไวรัส เช่น ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ดีซ่าน
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Livetal เป็นสารสกัดหยาบของสมุนไพรออกฤทธิ์ในการบำรุงและป้องกัน การทำลายเซลล์ตับจากแอลกอฮอล์

ผลการทดสอบความปลอดภัยเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งสองชนิด พบว่ามีความปลอดภัยสูง (LD50 มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)

สำหรับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว ให้รับประทานวันละครั้งเช้า-เย็น ติดต่อกับเป็นเวลา 1 เดือน โดยเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอาการท้องอืด เวลาที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือผู้ที่มีการหลั่งน้ำดีผิดปกติ

อาร์ติโชค
ช่วยบำรุงตับ กระตุ้นการทำงานของตับ เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน และโรคตับแข็ง

ลูกใต้ใบ
ลูกใต้ใบ มี สรรพคุณคือสามารถ ลดไข้ จากการศึกษาพบว่า สารสำคัญในลูกใต้ใบคือ โพแทสเซียม ไฟลแลนทีน และไฮโปไฟลแลนทีน ซึ่งให้รสขม ในปัจจุบันได้มีการค้นพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาว่า มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ทั้งช่วยยับยั้งความเป็นพิษต่อตับ ต้านไวรัสตับอักเสบ บี ยับยั้งเอนไซม์ Reverse transcriptase ของ HIV-1 ต้านการอักเสบ กำจัดพิษ ต้านมะเร็งตับ ลดไข้ ขับปัสสาวะ ลดน้ำตาลในเลือด


Book Reference:
หนังสือ "หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า" โดย นพ. บรรเจิด ตันติวิท
หนังสือ เห็ดหลินจือกับการรักษาโรค โดย สมศักดิ์ ชินกร
 
Related Link: [WebSite External Reference]
ความรู้โรคตับและสุขภาพ กับมูลนิธิโรคตับ


http://www.alternativecomplete.com/alternative2.php

โรคไขมันในเส้นเลือด

สมุนไพร ลดไขมันในเส้นเลือด คลอเรสเตอรอล
Tags: สมุนไพร เห็ดหลินจือ เจียวกู้หลาน ลดไขมันในเส้นเลือด ลดคลอเรสเตอรอล

สมุนไพรที่ใช้ลดไขมันในเส้นเลือด ลดคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรค์ ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง ดอกคำฝอย เห็ดหลินจือ ปัญจขันธ์(เจียวกู้หลาน)หรือที่เรียกว่าโสมภาคใต้ และอาร์ติโชค ส่วนสมุนไพรที่ช่วยเพิ่ม HDL ไขมันดี ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง อาร์ติโชค


สมุนไพรลดไขมันในเส้นเลือด กระเจี๊ยบแดง ดอกคำฝอย เห็ดหลินจือ อาร์ติโชค ปัญจขันธ์

ไขมันในเส้นเลือด แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ คลอเรสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรค์ (Triglyceride) ไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นไขมันที่ให้พลังงานให้แก่ร่างกาย เกิดจาก
  1. อาหารที่รับประทาน ได้แก่ ไข่แดง ไข่ปลา กุ้ง ปู ปลาหมึก หอย เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน และน้ำมันหมู น้ำมันไก่ เป็นต้น
  2. เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเองจากการทำงานของตับและลำไส้
  3. เกิดจากยา เช่น ยาต้านไวรัสบางชนิด ยาฮอร์โมน steroid

ปัญหาของคลอเรสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรค์ (Triglyceride) ก็คือ ถ้าร่างกายมีคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรค์ มากเกินไป มันจะไปเกาะตัวอยู่ตรงผนังด้านในของหลอดเลือด ถ้าสะสมมากขึ้น จะทำให้หลอดเลือดตีบ โลหิตไหลเวียนยาก

คลอเรสเตอรอล (Cholesterol) ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
  1. LDL Cholesteral หรือไขมันไม่ดี เป็นไขมันที่เป็นต้นเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและ หลอดเลือดสมองตีบตัน
  2. HDL Cholesteral หรือไขมันที่ดี เป็นไขมันที่มีหน้าที่ป้องกันและต่อต้านการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
ค่าไขมันคลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรค์ สามารถตรวจวัดได้โดยการเจาะเลือด และต้องอดน้ำอดอาหารไม่น้อยกว่า 12 ชม. ก่อนตรวจเลือด

ค่ามาตรฐานของคลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรค์ เป็นดังนี้
  • คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesteral) ค่าปกติไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่า Total Cholesteral ที่สูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • LDL Cholesteral หรือไขมันไม่ดี ค่าปกติไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่า LDL ที่สูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากไขมันจะเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดแดง
  • HDL Cholesteral หรือไขมันที่ดี ค่าปกติต้องสูงกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ชายควรมีระดับ HDL ระหว่าง 40-50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในขณะที่ผู้หญิงควรมีระดับ HDL อยู่ระหว่าง 50-60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่า HDL ที่สูง จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • ไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) ค่าปกติไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูงก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่นเดียวกัน
Cholesteral    =   
HDL   +   LDL   +   [ Triglyceride / 5 ]


แนวทางการป้องกันไขมันและคอเลสเตอรอล
  1. บริโภคอาหารครบ 5 หมู่ และหลีกเลียงอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง
    ไขมันคอเลสเตอรอลลส่วนใหญ่มาจาก ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว (น้ำมันพืชชนิดอื่น เช่น รำ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ไม่มีคอเลสเตอรอล) ดังนั้นหลักสำคัญ ของการลดระดับไขมันในเลือดคือการ ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่เราเห็นๆว่ามีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เนื้อติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ข้างขาหมู ข้าวมันไก่ กะทิ เนย พิซซา เบอร์เกอร์ เป็นต้น คอเลสเตอรอลยังมีมากในเครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ ไข่แดงจากไข่ทุกประเภท (แต่ไม่พบในไข่ขาว) อาหาร ทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม มันปู
  2. ควบคุมคอเลสเตอรอล, LDL Cholesteral และไตรกลีเซอไรด์ ไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน
  3. เพิ่ม HDL Cholesteral ให้สูง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายยังทำให้ HDL Cholesteral เพิ่มสูงขึ้นด้วย
ไขมันเลว ไขมันดี มีอะไรบ้าง
  • ไขมันเลว (ถ้ามีปริมาณมากจะเป็นโทษต่อร่างกาย) ได้แก่ คอเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, LDL , ไขมันอิ่มตัว (ในฉลากอาหาร, ฉลากข้างขวดน้ำมันพืชบางยี่ห้อ จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า SATURATED FAT. นั่นหมายถึงไขมันอิ่มตัวนั่นเอง)
  • ไขมันดี เช่น HDL ,ไขมันไม่อิ่มตัว (UNSATURATED FAT) (รวมถึงโอเมก้า 3 ด้วย), เลซิติน พวกนี้จัดเป็นไขมันดี ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดอุดตันที่หัวใจและทำให้มีสุขภาพดี


สมุนไพรลดไขมันในเส้นเลือด

ปัญจขันธ์ (เจียวกู้หลาน)

มีสรรพคุณในการลดไขมันในเลือด เนื่องจากมีสารโพลีฟีนอล ( Polyphenols ) มีฤทธิ์ในการลดคลอเรสเตอรอล ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอลชนิด LDL ( LDL: กรดไขมันที่เสียที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ) จึงเท่ากับ ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลให้กรดไขมัน ชนิด HDL กรดไขมันดี ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นเกิดจากการแปรสภาพของกรดไขมันเสีย นอกจากนั้นยังป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

หมายเหตุ
  • LDL Cholesterol คอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ยิ่งมากยิ่งไม่ดี
  • HDL Cholesterol คอเลสเตอรอลที่ดี ยิ่งมากยิ่ง ดี
[ที่มา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ]

เห็ดหลินจือ

พบว่า ภายในเห็ดหลินจือ มีสารที่ใช้ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาและป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดได้ นั่นคือ กรดกาโนเดอริค ( Ganoderic acid ) และ กรดลูซิเดนิค (Lucidenic acid ) นอกจากนี้ยังพบกลุ่มสาร นิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) มีสรรพคุณในการป้องกันเส้นเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด (Antithrombotic activity) ส่งผลช่วยลดอัตราการเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ลงได้

มีรายงานผลการศึกษาทางคลินิกโดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่นในผู้ป่วย 70 รายหลังจากให้ผู้ป่วยกินเห็ดหลินจือแบบสกัดเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าสามารถลดคลอเรสเตอรอลได้ 74.2% ซึ่งตรงกันกับรายงานผลการศึกษาทางคลินิกที่มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์เมือง เซียงไฮ้ พบว่า สามารถลดไขมันในเลือดคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้เช่นกัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและช่วยลดการอุดตันภายในเส้นเลือดของอวัยวะ ต่าง ๆ ได้

กระเจี๊ยบแดง

  • กลีบเลี้ยงของดอก เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิตโดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
  • ดอก แก้โรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพราะปัสสาวะ และ ละลายไขมันในเส้นเลือด
  • ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  • เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
รศ.ดร.เนตรนภิส ธีระวัลย์ชัย ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาคุณสมบัติของกระเจี๊ยบแดงต่อการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (เอชดีแอล) และยับยั้งคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (แอลดีแอล) จนพบว่า สารสกัดกระเจี๊ยบแดงออกฤทธิ์ ยับยั้งไขมันตัวร้ายและเพิ่มปริมาณไขมันดีอย่างเห็นได้ชัด จึงเหมาะนำไปพัฒนาเป็นยาลดไขมันในเลือดได้ในอนาคต

สาเหตุของโรคหัวใจเกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูง เกิดจากการสะสมของไขมันเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดก้อนไขมันเกาะและอุดตันอยู่บริเวณหลอดเลือดหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว และหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองขาดเลือด มีความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตในที่สุด ผู้ที่ประสบภาวะไขมันในเลือดสูงมักจะไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีอาการแสดงออก แต่รู้ได้ด้วยการเจาะเลือดตรวจ

ในปัจจุบันผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง จำเป็นต้องรับประทานยาลดไขมัน ซึ่งมีความเป็นพิษต่อตับสูง ทีมวิจัยจึงศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดไขมัน เพื่อนำมาพัฒนาเป็นยาลดไขมันจากสมุนไพร ที่ราคาถูกและปลอดภัย จนกระทั่งพบว่ากระเจี๊ยบแดงมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่ยังไม่มีผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ยืนยันประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีผู้ผลิตตัวยาจากสมุนไพรชนิดนี้

ยาลดไขมันที่ใช้อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ เป็นยานำเข้าจากต่างประเทศมีราคาขายอยู่ที่เม็ดละ ๖๐ บาท ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องกินต่อเนื่อง แต่หากทีมงานสามารถพัฒนายาลดไขมันจากสมุนไพรได้สำเร็จ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้มาก

ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอยเป็นยาบำรุงโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ป้องกันไขมันอุดตัน ฟอกโลหิต ช่วยระบายอ่อนๆ และยังประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิดเช่น โปรตีน เบต้าแคโรทีน ไวตามินอี เป็นต้น

น้ำมันของดอกคำฝอยมีส่วนประกอบของกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (ไขมันดี) ในประมาณสูง ประมาณร้อยละ 75 จึงเชื่อว่าจะทำให้ประมาณคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำลง และจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคน พบว่า เมล็ดน้ำมันดอกคำฝอยช่วยทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ลดลงได้จริง

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกรดไลโนเลอิกจะไปทำปฏิกิริยากับคอเลสเตอรอลในเลือด ได้เป็นคอเลสเตอรอลไลโนเลเอท (choloesterol linoleate) และยังมีรายงานว่า น้ำมันดอกคำฝอยทำให้ฤทธิ์ของเอนไซม์ ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันลดลงอีกด้วย จากผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง และในคนพบว่า น้ำมันดอกคำฝอย จะช่วยให้การอุดตันของไขมันในหลอดเลือดลดลง และช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเลือดได้ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากน้ำมันดอกคำฝอยมีฤทธิ์ลดการจับตัวของเกล็ดเลือดคนจีน ใช้รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด

ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 3 กรัม ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นชาได้ 3 เวลา ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ไปตรวจดูไขมันในเลือดลดหรือยัง ถ้าลดแล้วก็หยุดดื่มได้

อาร์ติโชค

ในอาร์ติโชคมีสารไซนาริน (cynarin) ช่วยลดไขมันในเลือด ลดได้ทั้งคอเลสเตอรอล LDL และไตรกลีเซอไรด์ แถมช่วยเพิ่ม HDL และยังช่วยบำรุงตับ ทำให้ตับทำงานได้ดียิ่งขึ้น


Book Reference:
อาหารเกี่ยวข้องกับโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างไร พญ. ญาณนุช เมตติกานนท์
มารู้จักอาร์ติโช้ค พญ.ลลิตา ธีระสิริ
หนังสือ เห็ดหลินจือกับการรักษาโรค โดย สมศักดิ์ ชินกร
วารสาร Health & Cuisine ฉบับเดือนตุลาคม 2550
 
Related Link: [WebSite External Reference]
กระเจี๊ยบต้านทานโรคหัวใจ http://www.oursiam.net/ ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/
http://www.thailabonline.com
น้ำผักผลไม้ ประปาไทย.คอม 


http://www.alternativecomplete.com/alternative6.php

ลอง ฟัง ดู