Me

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ สมุนไพร รักษาโรคหัวใจ
Tags: สมุนไพร เห็ดหลินจือ รักษาโรคหัวใจ

เห็ดหลินจือรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ส่วนสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจได้แก่ เกสรทั้ง 5 เตยหอม กฤษณา ใบบัวบก ความหมายของเกสรทั้ง 5 คือ ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง


เตยหอม สารภี บุนนาค บัวหลวง เห็ดหลินจือ

โรคหัวใจมีหลายประเภท ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะกลุ่มของโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร
กลุ่มของโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย โรคเหล่านี้ล้วนมีต้นเหตุมาจากเส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เกิดภาวะที่เรียกว่าหัวใจขาดเลือด ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจนนานจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผลตามมาคือภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายจนกระทั่งเสียชีวิต

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบเกิดจากลิ่มเลือดจับ ตัวเป็นก้อน พังผืด ไขมัน คอเลสเตอรอลในเลือด และหินปูน (แคลเซียม) ไปสะสมอยู่ในผนังด้านในของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน ซึ่งอาจทำให้หัวใจวายและเสียชีวิตในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดโรคนี้ได้แก่ อายุ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ ไขมันโคเลสเตอรอล เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และความเครียด

แนวทางการป้องกัน
คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่, หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง, ควบคุมระดับไขมันในเลือด, เลิกสูบบุหรี่, งดดื่มสุรา , ออกกำลังการสม่ำเสมอ, ทำจิตใจให้แจ่มใส, ห้ามเครียด, ควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูง

การควบคุมไขมันในเลือดนั้น เนื่องจากไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ สมอง แต่หากมีไขมันนี้ มากเกินไปจะเกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดได้ ไขมันที่ร้ายที่สุดคือโคเลสเตอรอลชนิด แอล-ดี-แอล ในทางกลับกันไขมันโคเลสเตอรอล ชนิด เอช-ดี-แอล เป็นไขมันชนิดดีที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ

ควบคุมระดับไขมันโคเลสเตอรอล ในเลือดไม่ให้เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
แอล-ดี-แอล ไม่เกิน 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
เอช-ดี-แอล ควรมากกว่า 35 (ยิ่งมากยิ่งดี) มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ไขมันโคเลสเตอรอลส่วนใหญ่มาจาก ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว (น้ำมันพืชชนิดอื่น เช่น รำ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ไม่มีโคเลสเตอรอล) ดังนั้นหลักสำคัญ ของการลดระดับไขมันในเลือดคือการ ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่เราเห็นๆว่ามีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เนื้อติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ข้างขาหมู ข้าวมันไก่ กะทิ เนย พิซซา เบอร์เกอร์ เป็นต้น โคเลสเตอรอลยังมีมากในเครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ ไข่แดงจากไข่ทุกประเภท (แต่ไม่พบในไข่ขาว) อาหาร ทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม มันปู

การรับประทานมังสะวิรัติ หรือแม้กระทั่ง เจเขี่ยก็ช่วยลดไขมันโคเลสเตอรอล ได้ดี แต่ไม่ควร รับประทานไข่แดงเกิน 2 ฟองต่อสัปดาห์ นอกจากนั้นอาหารประเภทที่มีกากมาก เช่น ข้าวกล้อง ข้าว ซ้อมมือ ซีเรียล ผลไม้ ก็มีส่วนช่วยลดการดูดซึมของไขมันเช่นกัน


สมุนไพรรักษาโรคหัวใจ
Tags: เห็ดหลินจือ รักษาโรคหัวใจ
เห็ดหลินจือ รักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
นพ. บรรเจิด ตันติวิท ได้กล่าวถึงเห็ดลินจือสามารถรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ จากหนังสือ "หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า" ซึ่งได้พูดถึงเหตุผลว่าทำไมเห็ดหลินจือถึงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้

ทำไมเห็ดหลินจือถึงสามารถรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายได้
ก่อนอื่นต้องรู้สาเหตุของโรคเหล่านี้ก่อน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่
  1. สาเหตุที่หนึ่ง การเกาะตัวของลิ่มเลือดทำให้เส้นเลือดอุดตัน
    โดยปกติแล้วการก่อตัวของเกร็ดเลือดให้เป็นลิ่มเลือดนั้นมีความจำเป็น ต่อ การห้ามเลือดและการสมานแผล แต่หากลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายจนเกินไปทำให้เกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรค เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย กล่าวคือ ถ้าเส้นเลือดที่อุดตันเป็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจก็เป็นโรคเส้นเลือด หัวใจตีบ ถ้าอุดตันมากจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย

    เห็ดหลินจือช่วยได้ : เห็ดหลินจือสามารถละลายลิ่มเลือดไม่ให้อุดตันได้
    เห็ดหลินจือมีสารสำคัญที่เรียกว่า นิวคลีโอไชด์ ซึ่งมีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือดที่อุดตัน ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายเกินไป จนเกิดการอุดตันของเส้นเลือด

    เห็ดหลินจือไม่ได้ช่วยแค่เส้นเลือดที่หัวใจเท่านั้น ยังรวมถึงเส้นเลือดทุกแห่ง รวมทั้งเส้นเลือดในสมองด้วย

    นอกจากนั้น เห็ดหลินจือยังช่วยในการเพิ่มออกซิเจนที่สะสมในเนื้อเยื่อ
    เห็ดหลินจือมีสารเยอมาเนียมที่ช่วยในการเพิ่มออกซิเจนที่สะสมในเนื้อเยื่อ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจนก็สามารถดึงออกซิเจนจากเนื้อเยื่อบริเวณ นั้นได้ ทำให้รอดพ้นจากสภาวะวิกฤต
  2. สาเหตุที่สองคือ ไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดมากเกินไปจนเกาะเส้นเลือดทำให้เกิดการอุดตัน เมื่อเส้นเลือดหัวใจตีบมากจนอุดตัน เลือดก็ส่งไปเลี้ยงหัวใจไม่ทัน เกิดภาวะการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ

    เห็ดหลินจือช่วยได้ : เห็ดหลินจือช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด
    เห็ดหลินจือมีสารไตรเทอพิน ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ให้มีมากเกินไป ซึ่งเห็ดหลินจือก็ช่วยขจัดอีกสาเหตุหนึ่งของโรคไปได้

สรุปเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ นั่นเป็นเพราะว่า
  1. เห็ดหลินจือสามารถละลายลิ่มเลือดไม่ให้อุดตันได้
  2. เห็ดหลินจือช่วยในการเพิ่มออกซิเจนที่สะสมในเนื้อเยื่อ ทำให้รอดพ้นหากเกิดสภาวะวิกฤตเมื่อหัวใจขาดออกซิเจน
  3. ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ให้มีมากเกินไป
  4. คนที่เป็นโรคหัวใจรักษาด้วยแผนปัจจุบันต้องรับประทานยาไปตลอด ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการรับประทานยาแผนปัจจุบันไปนานๆ ตับจะเสือม เห็ดหลินจือยังช่วยบำรุงตับให้ดีขึ้นอีกด้วย


เนื่องจากคนที่เป็นโรคหัวใจ จะต้องควบคุมเรื่องไขมันในเลือดและความดันโลหิต จึงแบ่งสมุนไพรที่เหมาะกับโรคหัวใจนี้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบำรุงหัวใจ กลุ่มลดไขมันในเลือดซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ และกลุ่มลดความดันโลหิต
กลุ่มสมุนไพรบำรุงหัวใจ
  • เกสรทั้ง 5 คือ ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง
  • แก่นกฤษณา
  • ใบบัวบก
  • เตยหอม (ส่วนของใบ)
สรรพคุณ บำรุงหัวใจ เอามาตากแห้งทำเป็นชา สำหรับชงดื่ม
  • เห็ดหลินจือ
  • ปัญจขันธ์
  • กระเจี๊ยบแดง
  • คำฝอย
  • อาร์ติโชค
  • เห็ดหลินจือ
  • กระเทียม
  • ใบบัวบก
  • กระเจี๊ยบแดง
  • คื่นฉ่าย


Book Reference:
หนังสือ "หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า" โดย นพ. บรรเจิด ตันติวิท
หนังสือ เห็ดหลินจือกับการรักษาโรค โดย สมศักดิ์ ชินกร
 
Related Link: [WebSite External Reference]
หมอเส็ง
สรรพคุณสมุนไพร กลุ่มยาบำรุงหัวใจ 


http://www.alternativecomplete.com/alternative8.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลอง ฟัง ดู